*** หากเป็นผู้มีสภาพเหงื่อเปรี้ยว เมื่อสวมใส่แล้วจะยิ่งเงา สีของนาค จะยิ่งสุกใสมากยิ่งขึ้น***
--- หากเป็นผู้มีสภาพเหงื่อเค็ม เครื่องประดับนาคอาจถูกเหงื่อกัดทำให้มีสีหมองคล้ำ ---
วิธีดูแลรักษาเครื่องประดับ
1. ทำความสะอาดเครื่องประดับด้วยสบู่ หรือน้ำยาล้างจานอย่างสม่ำเสมอ
2. ห้ามใส่เครื่องประดับสัมผัสกับสารเคมี
-.คลอรีน เป็นสารมีฤทธิ์กัดกร่อนค่อนข้างสูงอาจละลายผิวของโลหะ ทำให้เครื่องประดับหักแหว่งได้ อย่าให้เครื่องประดับนาคสัมผัสกับน้ำยาฟอกสี
-.น้ำหอม โลชั่นทาผิว และ เครื่องสำอางค์ ทำให้เกิดชั้นไขมันคลุมผิวหน้าของเครื่องประดับ ความแวววาวของเครื่องประดับจะลดลง
-.น้ำยาดัดผม หรือ น้ำยาเปลี่ยนสีผม ทำให้บริเวณรอยเชื่อมของเครื่องประดับนาคเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
-.สารปรอท เมื่อเครื่องประดับนาคที่สวมใส่สัมผัสกับสารที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่มีส่วนประกอบของสารปรอท เราจึงพบนาคกลายเป็นสีขาว สารปรอทที่มักเจอในชีวิตประจำวัน คือ อะมัลกัม (amalgam) สารที่ใช้อุดฟัน โดยมีส่วนผสมประมาณ ถึง 50% ที่เหลือคือ โลหะเงินเป็นหลัก ตามด้วย ตะกั่ว ทองแดง สังกะสี ตามแต่สูตรของผู้ผลิตจะคิดค้นกันมา เมื่อเครื่องประดับที่สวมใส่โดนน้ำกรอฟันที่อุด ซึ่งมีวัสดุอุดฟันหรืออะมัลกัมเป็นส่วนประกอบกระเด็นใส่ ปรอทที่ปนเปื้อนมากับน้ำกรอฟันก็จะทำปฏิกิริยาเข้าจับให้เห็นเป็นดวงๆ ตามรอยที่กระเด็นมา
-.ยารักษาฝ้าบางชนิด ที่ทำให้หน้าขาว มักมีส่วนผสมของสารปรอท ซึ่งสามารถใช้ได้ผลจริง แต่อาจมีอันตรายจากการสะสมปรอทที่ผิวหนัง และในร่างกายได้
-.ยาแดง หรือ เมอร์คิวโรโครม (mercurochrome) ยาแดงใช้ทาพวกแผลสดที่เป็นถลอกตื้นๆไม่ลึก เพราะว่ามันจะทำให้เกิดสะเก็ดแผลแห้งเร็วคลุมแผลไว้ไม่ให้เชื้อโรคเข้าแผล ไม่ควรทาลงบนแผลโดยตรง เพราะกลายเป็นแผลจะหายยากและอาจเป็นอันตรายจากสารปรอทแทน ยาแดงใช้สารปรอทเป็นหลัก ซึ่งมีผลในการฆ่าเชื้อโรคเป็นอย่างดี ถ้าใครเคยสังเกต หลังการทายาแดง จะเห็นว่า มีเงาสะท้อนให้เห็นชัดเจนเพราะมีโลหะหนักเช่นปรอทเป็นส่วนประกอบในอัตราค่อนข้างสูงนั่นเอง
-.ทิงเจอร์ใส่แผลสด (merthiolate) ได้ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียมานานแล้ว บางทีคุณอาจจะเคยใช้ทาที่บริเวณแผลเพื่อฆ่าเชื้อในตอนเด็กก็เป็นได้
3. เมื่อไม่ได้นำมาสวมใส่ ควรเก็บไว้ในที่มิดชิดไม่ให้โดนแดดและลม
Cr. google.com